วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 11 : มาดูการแสดงชื่อแบบง่ายมากๆของ Turbo C++

#include

#include
main ()
{
clrscr ();
gotoxy(25,4);printf("-----------------------------");
gotoxy(25,5);printf("Paweena Chanthong");
gotoxy(25,6);printg("++++++No.4++++++");
gotoxy(25,7);printf("-----------------------------");
getch ();
return 0;
}

สัปดาห์ที่ 10 : เริ่มเรียนบทที่ 4 แล้ว!!

- ทำใบงานที่เหลือในบทที่ 3
- เรียนและศึกษาเนื้อหาบทที่ 4
- ทำใบงาน 1-4

สัปดาห์ที่ 9 : เรียนรู้ต่อไป

- ฝึกแสดงชื่อในการเขียนโปรแกรมภาษีแบบเลื่อนขึ้นด้านบน
โดยใช้คำสั่ง delay (ความเร็ว);
- สอบปฏิบัติ จับเวลา

วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 8 : การเรียนรู้เพิ่มเติม

- สอบหลังเรียนบทที่ 2
- สอบก่อนเรียนบทที่ 4
- เรียนและศึกษาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นของภาษา C
คำทักทายในภาษาต่างๆ 10 ภาษา
1. ภาษา เวียดนาม
สวัสดี Xin chao ซินจ่าว
ขอบคุณ Com on ก่าม เอิน
ขอโทษ Xin loi ซินโหลย
กรุณา Xin moi ซินเหม่ย
ลาก่อน Tam biet ตาม เบียด
2.ภาษา ตากาลอก

สวัสดี Kumusta กูมุสตา
ขอบคุณ Salamat ซาลามัต
ขอโทษ Paumanhin ปะ อุมันฮิน
กรุณา Pakisuyo ปากีซูโย่
ลาก่อน Paalam ปาอาลัม
3.ภาษา สเปน

สวัสดี Hola โอล่า
ขอบคุณ Gracias กราเซียส
ขอโทษ Lo siento โล เซียนโต
กรุณา Por favor ปอร์ ฟาบอร์
ลาก่อน Adios อาดิโอส
4.ภาษา เยอรมัน

สวัสดี Hallo ฮาโหล
ขอบคุณ Danke ดังเคอะ
ขอโทษ Entschuldigung เอน ชู้ตด ิ กุ้ง
กรุณา Bitte บิต เทอะ
ลาก่อน Schuss ชู้ส
5.ภาษาอิตาเลียน

สวัสดี Buon giorno บวน จอรโน
ขอบคุณ Grazie กราท ซีเย
ขอโทษ Mi dispiace มิ ดิสเปียอา เช่
กรุณา Per favore แปร ฟา วอ เร
ลาก่อน Ciao เชา
6.ภาษาจีน

สวัสดี Ni hao หนีห่าว
ขอบคุณ Xie xie เซียเซี้ย
ขอโทษ Dui bu qi ตุ้ย ปู้ ฉี่
กรุณา Qing ฉิง
ลาก่อน Zai jian ไจ้เจี้ยน
7.ภาษาภาษาฝรั่งเศส

สวัสดี Bonjour บง ชูร์
ขอบคุณ Merci แม้ค ซี่
ขอโทษ Pardon ปาร์ค ดอง
กรุณา S'll vous plait ซิล วู เปล
ลาก่อน Au revoir โอ เครอะ วัว
8.ภาษาญี่ปุ่น

สวัสดีตอนเช้า Ohayou gosaimasu โอะไฮโย โกไซมัส
ขอบคุณ Arigatou gozaimashita อาริงาโตะ โกไซมัส
ขอโทษ Gomen nasai โกะเมน นะไซ
กรุณา Douzo โด โชะ
ลาก่อน Sayonara ซาโยนาระ
9.ภาษาดัตช์

สวัสดี Goedendag คูเดิ้นด๊าค
ขอบคุณ Dan ku wel ดั้ง กู เวล
ขอโทษ Pardon ปาร์ดอง
กรุณา Ais tu blieft อัลส์ตูบลีฟท์
ลาก่อน Tot ziens ต๊อทซีนส์
10.ภาษามาเลย์

สวัสดี Salamat Datang ซาลามัต ดาตัง
ขอบคุณ Terima kasih เทริมา กาสิ
ขอโทษ Maaf อาอาฟ
กรุณา Sila ซิลา
ลาก่อน Salamat jalan
ภาษาคอมพิวเตอร์และความเหมาะสมในการใช้งานของแต่ละภาษา 

+BASIC (Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code) สำหรับผู้เริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
+COBOL (Common Business Oriented Language) นิยมใช้ในงานธุรกิจบนเครื่องขนาดใหญ่
+FORTRAN (FORmula TRANslator) ใช้สำหรับงานด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
+Pascal (ชื่อของ Blaise Pascal) ใช้ในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
+C สำหรับนักเขียนโปรแกรม และใช้ในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
+C++ สำหรับผู้ผลิตซอฟต์แวร์
+ALGOL (ALGOrithmic Language) เริ่มต้นได้รับการออกแบบให้เป็นภาษาสำหรับงานทางวิทยาศาสตร์ และต่อมามีการพัฒนาต่อเป็นภาษา PL/I และ Pascal
+APL (A Programming Language) ออกแบบโดยบริษัท IBM ในปีค.ศ. 1968 เป็นภาษาที่โต้ตอบกับผู้ใช้ทันที เหมาะสำหรับจัดการกับกลุ่มของข้อมูลที่สัมพันธ์กันในรูปแบบตาราง
+LISP (LIST Processing) ถูกออกแบบมาให้ใช้กับข้อมูลที่ไม่ใช้ตัวเลข ซึ่งอาจเป็นสัญลักษณ์พิเศษหรือตัวอักษรก็ได้ นิยมใช้ในด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artifical Inelligence)
+LOGO นิยมใช้ในโรงเรียน เพื่อสอนทักษะการแก้ปัญหาให้กับนักเรียน
+PL/I (Programming Language One) ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และธุรกิจ
+PROLOG (PROgramming LOGIC) นิยมใช้มากในงานด้านปัญญาประดิษฐ์ จัดเป็นภาษาธรรมชาติภาษาหนึ่ง
+RPG (Report Program Generator) ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานทางธุรกิจ จะมีคุณสมบัติในการสร้างโปรแกรมสำหรับพิมพ์รายงานที่ยืดหยุ่นมาก


วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 7 : การเขียนผังงานอันปวดหัว<นิดๆ>

- เรียนรู้การเขียนผังงานประเภทต่อมาคือแบบ 2 ทางเลือก และวนซ้ำ
- จากนั้นทำใบงานที่เหลืออย่างตั้งใจและเคร่งเครียด...

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 6 : ลองสอบกันดู

- ทำใบงานในหนังสือ
- สอบการเขียนโปรแกรมโดยมีชื่อและเลขที่แสดง มีเวลาคนละ 5นาที

สัปดาห์ที่ 5 : ทดลองใช้งาน Terbo C++

- สอบก่อนเรียนบทที่ 3
- ทดลองการเขียนโปรแกรมภาษาซี
- ลองฝึกใช้คำสั่งง่ายๆ
- สร้างบ้านและสนามเด็กเล่นด้วยตนเอง

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 4 : การเขียนผังงาน

- อาจารย์ได้อธิบายการอัพเดตบล็อกเพื่อความสมบูรณ์ต่อไป
- แก้ไขงานที่ผิดพลาดในบทแรก
- เรียนเกี่ยวกับเนื้อหาบทที่  2 ต่อ
- ทำแบบฝักหัด
- สอดแทรกทักษะการใช้ชีวิตที่ดี
- ฝึกทักษะกระบวนการคิดที่ถูกต้อง

วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 3 : Up Date Blogger

- สอบท้ายบทที่ 1 และก่อนเรียนบทที่ 2
- เรียนบทที่ 2
- ทำแบบฝึกหัด
- อาจารย์ทอดแทรกทักษะด้านภาษาอังกฤษ
และอื่นๆ อีกมากมาย
- ใส่ลิงค์เพื่อนให้ครบ...และอัพเดตบล็อกเกอร์เพิ่มเติม

วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 2 : Technology 3G : 10 ประเทศในอาเซียน


             3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต
            3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น
ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น
เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยี
            3G น่าสนใจอย่างไร  จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่
เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น 3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว “Always On”
             คุณสมบัติหลักของ 3G คือ  มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล  ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC

                                                



ประเทศในอาเซียนมีสมาชิกรวม 10 ประเทศคือ


1. อินโดนีเซีย
2. มาเลเซีย
3. ฟิลิปปินส์
4. สิงคโปร์
5. เวียดนาม
6. ลาว
7. กัมพูชา
8. พม่า
9. บรูไน
10.ไทย
                                                     

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 1 : วิชาไมโครคอมพิวเตอร์และการใช้งาน 2

คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาปาสคาล ภาษา เบสิก และการประยุกต์ใช้ในงานโทรคมนาคม

จุดประสงค์รายวิชา
1.เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง
2.เพื่อให้มีความสามารถเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
3.เพื่อให้มีกิจนสัยในการทํางานด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประณีต รอบคอบและปลอดภัย

สมรรถนะงานอาชีพ (อาชีพที่ทำได้จากการเรียนรายวิชานี้ระบุเพียง 1 อาชีพ)
- โปรแกรมเมอร์

การวัดผลและประเมินผล วัดผลตามเกณฑ์มาตรฐานของวิทยาลัย โดยมีการวัดผลและประเมินผลดังนี้
การวัดผล(100%)
1. พิจารณาจากงานที่ได้รับมอบหมาย 20 %
2. พิจารณาจากใบงาน 20 %
3. พิจารณาจากกิจนิสัย ความสนใจ ,ความรับผิดชอบ และการเข้าร่วมกิจกรรม 20 %
4. การสอบภาคทฤษฎีและการสอบปฏิบัติ 40 %

หน่วยการสอน
สัปดาห์ที่ หน่วยการสอน ชื่อหน่วยการสอน 1-2 1 การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์3-4 2 การเขียนผังงานุ6-7 3 ความรู้เบื้องต้นของภาษา C และ Turbo C++8-9 4 องค์ประกอบของภาษา C10-12 5 คำสั่งรับ/แสดงผลข้อมูล และการหมายเหตุโปรแกรมในโปรแกรมภาษา C 13-16 6 คำสั่งควบคุมโปรแกรม17-18 - ทบทวนเนื้อหา ทดสอบทฤษฎีและปฏิบัติ




การเรียนสัปดาห์ที่ 1
วันนี้เป็นการเริ่มเรียนวิชานี้วันแรก คือวิชา ไมโครคอมพิวเตอร์และการใช้งานหรือการประกอบคอมพิวเตอร์ 2 กับอาจารย์จันทร์เพ็ญ พรมงาม

เริ่มแรกอาจารย์ก็ได้ชี้แนะเกี่ยวกับรายวิชานี้ว่า มีเนื้อหาเกี่ยวข้องเกี่ยวกับอะไรบ้าง จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้สมัครอีเมล ของ G-Mail เพื่อง่ายต่อการเรียนและการส่งงานต่อไป

ต่อมาอาจารย์ก็เริ่มจากการสอนทักษะของการพัฒนาทักษะของตนเอง ได้แก่
1. IQ (Intelligence Quotient) : ความฉลาดการพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ มีความเฉลียวฉลาดขึ้น และใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง
2. EQ (Emotion Quotient) : การรู้จักตนเอง,ความมั่นคงทางอารมณ์การพัฒนาให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง และมีความมั่นคงทางอารมณ์
3. AQ (Adversity Quotient) : การแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้า,เหตุการณ์ที่ไม่เคยพบมาก่อนการพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อน และการเผชิญสถานะการณ์ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลง และทำงานอยู่ภายใต้สภาวะการกดดันได้ดี
4. TQ (Technology Quotient) : การเลือกใช้เทคโนโลยีให้เข้ากับตนเองการพัฒนาความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี และรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีต่างๆให้เหมาะสมกับความต้องการ
5. MQ (Morality Quotient) : คุณธรรม จริยธรรมปลูกฝังคุณธณรม จริยธรรมให้ผู้เรียนมีจิตใจงดงาม รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณี และอยู่ในสังคมความรู้ (know ledge - based society) ได้อย่างมีความสุข

จากนั้นอาจารย์ก็ได้สอนวิธีการทำ Blogger เป็นของตนเอง http://yaiipuiizaaa-tc.blogspot.comและบอกหนทางการติดต่อความเคลื่อนไหวของอาจารย์ในแหล่งต่างๆ พร้อมทั้งการตรวจสอบดูคะแนนและข้อมูลการเรียนได้อย่างสะดวก ผ่านทางเว็บไชต์ของอาจารย์

ก่อนจะจบการเรียนก็มีการสอบก่อนเรียน 60 ข้อ เพื่อได้รู้แนวความรู้ที่จะศึกษา และจะได้รู้แนวทางการศึกษาในหน่วยเรียนบทที่ 1 ต่อไปในสัปดาห์หน้า